Power Transformer Failures

หม้อแปลงทำงานอย่างไร

  หม้อแปลงเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการแปลงแรงดันไฟฟ้า โดยใช้หลักการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ตามกฎของ Faraday

เมื่อดูจากรูปไฟฟ้ากระแสสลับด้านปฐมภูมิ(Vp)จะสร้างฟลักซ์แม่เหล็ก(เส้นสีเขียว) ไปตัดกับขดลวดด้านทุติยภูมิทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ สร้างแรงดันไฟฟ้าที่ขดลวดด้านทุติยภูมิ  

หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง (ชนิดฉนวนน้ำมัน : Oil Immersed)

  โดยส่วนใหญ่แล้วหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังจะเป็นชนิดฉนวนน้ำมัน โดยจะใช้ประโยชน์จากน้ำมันเพื่อใช้เป็นฉนวนและช่วยลดอุณหภูมิของขดลวด ซึ่งจะมีลักษณะและความแตกต่างจากหม้อแปลงไฟฟ้าแบบแห้ง

1. ความผิดพร่องภายในหม้อแปลง(Internal Failures) และวิธีการตรวจจับความผิดปกติ

    การเกิดความผิดปกติภายในหม้อแปลงเป็นสิ่งส่งผลกระทบต่อตัวหม้อแปลง และควรตรวจหาความผิดปกติโดยเร็วที่สุด ซึ่งการทดสอบแบบต่างๆ สามารถคาดการณ์และประมาณการความผิดปกติได้ตามแต่ละเทคนิคที่ใช้ทดสอบ

2. ความผิดพร่องจากแหล่งภายนอก (External Failures) และวิธีการตรวจจับความผิดปกติ

  การเกิดความผิดปกติจากแหล่งภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ วิธีการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพคือ ต้องมีการออกแบบอุปกรณ์ป้องกันที่ดีและครอบคลุมทุกความผิดปกติ

ตัวอย่าง “การวิเคราะห์ความผิดปกติหม้อแปลงแบบเชิงรุก”

มีหม้อแปลง 1 ลูกที่อายุเยอะมากกว่า 50 ปี ไม่มั่นใจว่าจะใช้งานได้ตามปกติหรือไม่

เราควรดำเนินการอย่างไรต่อ?

คำตอบ คือ เราควรดำเนินการ 4 เรื่องดังต่อไปนี้

1. ให้ lab น้ำมันทำการวิเคราะห์ว่ามีกระดาษหลุดเยอะหรือไม่

-ตรวจสอบค่า Furan Test*

*Furan Test – ดูโมเลกุลกระดาษที่หลุดมาปนในน้ำมัน

2. หยุดการจ่ายไฟหม้อแปลงเพื่อทำการตัดตัวอย่างกระดาษ kraft paper เพื่อวัดค่า DP test* เพื่อเทียบกับ Furan

-ดูค่า DP เพื่อดูความแข็งแรง คงรูปของฉนวนไฟฟ้า

*DP test – degree of polymerization ดูความแข็งแรงของเส้นใยกระดาษ

3. วัดค่าอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่า Breakdown Voltage และ Loss Power Factor Test

4. ทำ Financial Model เพื่อเปรียบเทียบการลงุทน