Motor Failure Rate

มอเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เป็นหัวใจหลักของโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท

จากข้อมูลทางสถิติ พบว่า ความเสียหายของมอเตอร์เกิดได้หลายรูปแบบ ได้แก่

1. ความเสียหายที่เกิดที่ bearing คิดเป็นประมาณ 41% โดยปัญหาที่พบมาจากการขาดสารหล่อลื่น การใช้งานตามอายุปกติ (normal aging) หรือความผิดพลาดจากการติดตั้ง

2. ความเสียหายที่เกิดที่ ขดลวด (winding) คิดเป็นประมาณ 37% โดยปัญหาที่พบมาจากการซ๊อตของขดลวดในมอเตอร์ ซึ่งอาจเกิดมาจากความผิดปกติภายในขดลวด (short turn) การปนเปื้อนจารบีที่เข้ามาในมอเตอร์หรือความชื้นภายในมอเตอร์

3. ความเสียหายที่เกิดที่ rotor คิดเป็นประมาณ 10% โดยปัญหาที่พบมาจากการเสียหายของ rotor bar หรือ end ring เนื่องจาก thermal fatigue สำหรับมอเตอร์ที่มีการใช้งานแบบ cyclic บ่อยครั้ง

4. ความเสียหายอื่น คิดเป็นประมาณ 12% โดยปัญหาที่พบ เช่น ขั้วต่อสายไฟหลวม, การเกิด corrosion บริเวณจุดยึดหรือ casing รวมถึง การเกิดความบกพร่องของฉนวนขดลวดบางจุดในมอเตอร์แรงดันสูง (partial discharge)

เนื่องด้วยความเสียหายของมอเตอร์มีได้จากหลายสาเหตุตามที่กล่าวข้างต้น การตรวจสอบสุขภาพเครื่องจักรโดยทั่วไปด้วยวิธี insulation resistance test หรือการทำ vibration analysis อาจไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ครบถ้วนและทันการ ส่งผลให้มอเตอร์เสียหายไปก่อน โดยที่เราไม่รุ้ตัวล่วงหน้า ทำให้การผลิตหยุดชะงักขึ้น